Saturday, May 18, 2013

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า



โครงการศึกษาศูนย์วิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินทร 

ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ในระหว่างวันที่ ๑๘ สิงหาคม - ๓ ตุลาคม ๒๕๒๔ พระองค์ ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาส ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่และความจำเป็นที่จะยกระดับ ความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ของจังหวัดให้ดีขึ้นจึงมีพระราชดำริ และพระราชกระแสรับสั่งต่อเจ้าหน้าที่ และผู้ติดตามเสด็จให้พิจารณาปรับปรุงกิจการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุ ซึ่งต่อมา กปร.(คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้มีการจัดตั้ง และดำเนินโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๕ โดยให้สำนักงานเลขานุการ กปร. เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการจัดทำแผนงานและงบประมาณต่อไป

วัตถุประสงค์
  • เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และสำรวจหาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับป่าพรุ มาใช้ในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าพรุ
  • เพื่ออนุรักษ์ป่าพรุสมบูรณ์ตามธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไป และฟื้นฟูสภาพป่าพรุเสื่อม โทรมให้กลับคืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม
  • เพื่อสาธิตและเผยแพร่งานป่าพรุทั้งด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุ
  • เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึก และประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุ

ที่ตั้งโครงการ
ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
      ๑. สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี
      ๒. สำนักงานป่าไม้จังหวัดนราธิวาส

ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗

พื้นที่โครงการ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๖๑,๐๑๕ ไร่ แยกเป็น
  • เขตสงวน ๙๕,๐๑๕ ไร่ เป็นพื้นที่ป่าพรุสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
  • เขตอนุรักษ์ ๑๐๙,๙๓๘ ไร่ เป็นพื้นที่ป่าพรุเสื่อมโทรม ต้องฟื้นฟู
  • เขตพัฒนา ๕๖,๙๐๗ ไร่ เป็นพื้นที่ที่ทั้งหมดสภาพป่าโดยสิ้นเชิง ต้องพัฒนา
  
ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ – ๒๕๔๔ (กรมป่าไม้)
  • ทำการสำรวจ วิจัย ทดลอง และค้นคว้างานวิชาการด้านป่าพรุ ๓๗ โครงการ
  • งานควบคุมไฟป่า ๓ งาน
  • งานเพาะชำกล้าไม้ ๑,๘๒๐,๐๐๐ กล้า
  • งานปลูกฟื้นฟูและบำรุงป่าพรุ ๓๐๐ ไร่
  • งานนิทรรศการป่าพรุและสวนนกเป็ดน้ำ ๑ งาน
  • งานสาธิตการประหยัดพลังงานจากป่าไม้ ๑ งาน
  • งานสวนผลิตเมล็ดไม้ป่าพรุ (ปาล์ม) ๑ งาน
  • งานสาธิตการจัดการป่าเสม็ด ๑ งาน
  • งานสวนรวมพันธุ์และผลิตพันธุ์ไม้ป่าพรุ ๑ งาน
  • งานสวนรุกชาติในโรงเรียน ๑ งาน
  • งานสาธิตการปลูกย่านลิเภาและหวายในสวนยางพารา ๑ งาน
  • งานบริหารและจัดการศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ๑ ศูนย์
  • งานประชุมและเตรียมการรับเสด็จฯ ๑ งาน
  • งานฝึกอบรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ๑ งาน
  • งานติดตามประเมินผล ๑ งาน
  • งานสำรวจและทดลอง ๑๐ โครงการ ๑๐ งาน
  • งานศึกษาผลการตัดสางขยายระยะที่มีต่อการเจริญเติบโตของไม้เสม็ดในพื้นที่ป่าพรุ ๓ แปลง
  • การศึกษาการแตกหน่อไม้เสม็ด ๓ แปลง
  • การสำรวจหากำลังผลิตไม้เสม็ดในพื้นที่พรุ ๓ แปลง
  • การศึกษาทัศนคติของประชาชนในการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและศูนย์ฯ สิรินธร ๓ หมู่บ้าน
  • งานสำรวจ จัดหาพรรณไม้มาอนุบาลเพื่อสนับสนุนสำนักงาน ก.พ. ๑ งาน
  • การศึกษาผลกระทบของไฟป่าที่มีต่อสัตว์ป่าพรุโต๊ะแดง ๑๒๕,๐๐๐ ไร่
  • งานศึกษาการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดระดับท้องถิ่น ๑ งาน
  • งานสำรวจวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใช้ประโยชน์ศัตรูทำลายไม้ป่าพรุ ๑ งาน
  • งานประยุกต์ใช้ Genetic marker เพื่อปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมปาล์มป่าพรุ ๑ ชนิด
  • การศึกษาการทดแทนสังคมพืชป่าพรุ ๒๘๐,๐๐๐ ไร่
  • งานสำรวจและวิจัยพรรณไม้ป่าพรุ ๑๒๕,๐๐๐ ไร่
  • งานบริหารและจัดการศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ๑ ศูนย์
  • งานฝึกอบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ๑ รุ่น
  • งานจัดพิมพ์เอกสารและสื่อเผยแพร่ ๒ เรื่อง
  • งานประชาสัมพันธ์และส่งเสริมเผยแพร่ ๔ ครั้ง
  • งานวิเคราะห์ และประมวลผลทรัพยากรป่าเสม็ด ๑ งาน
  • งานเตรียมการรับเสด็จฯ ๑ งาน
  • งานศึกษาวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจของไม้เสม็ดเปรียบเทียบกับพืชเกษตร ๑ โครงการ
  • การจัดการป่าเสม็ดให้เป็นแถวเป็นแนว ๓ แปลง
  • การศึกษาหาผลผลิตของเห็ดในป่าเสม็ด ๓ แปลง
  • งานสำรวจและติดตามสถานภาพสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ๑ งาน
  • งานจัดนิทรรศการนอกสถานที่ ๕ ครั้ง
  • งานพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองโต๊ะแดง ๑ งาน


โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า


โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่
ความเป็นมา
     เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทอดพระเนตรการดำเนินงานของโครงการ โดยมี นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี ,พลโทไพโรจน์ จันทร์อุไร แม่ทัพภาคที่ ๓ นายยุทธ กิ่งเกตุ อธิบดีกรมชลประทาน ,นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ,ร้อยตรีสมศักดิ์ เจริญกุศล ป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานในวโรกาสที่เสด็จฯ ครั้งนี้ ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงว่า พื้นที่ที่ปลูกสวนป่าแล้ว พื้นที่ที่บุกรุก และพื้นที่ที่จัดสรรให้ราษฎรทำกินเป็นการชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ควรจะได้มีการปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร มีความชุ่มชื้น สามารถทำกินได้ จะไม่ทำการบุกรุกต่อไป รวมทั้งยังสามารถจัดเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนได้อีกด้วย
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีรับสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกรมชลประทาน โดยมอบให้กรมป่าไม้รับไปดำเนินการ เกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาการปลูกสวนป่า โดยให้ปลูกไม้ที่ชุ่มชื้นเป็นหลัก และให้กรมชลประทานจัดหาแหแล่งน้ำ โดยใช้น้ำจากน้ำแม่สาย และให้ขุดอ่างเล็กอ่างน้อย ทำ Check Dam เป็นจุดๆ เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นในพื้นที่ ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้ว จากการทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ให้พัฒนาพื้นที่จากหมู่บ้านศาลาปางสัก ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ไปจดขอบอ่างเก็บน้ำแม่กวง สำหรับหมู่บ้านหรือราษฎรที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว ก็ควรพิจารณาให้อยู่อาศัยหรือทำกินต่อไป โดยให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นผู้ควบคุมไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่มเติม ทั้งนี้จะต้องทำการสำรวจผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำกินต่อไป โดยให้มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นผู้ควบคุมไม่ให้มีการเข้ามาบุกรุกเพิ่มเติมอีก
     ต่อมาเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้ขอรับการสนับสนุนกำลังพลจาก กองทัพภาคที่ ๓ ในการจัดเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานป้องกันการบุกรุกทำลายป่าในเขตพื้นที่โครงการฯ เนื่องจากราษฎรบุกรุกเข้าทำกินและตัดทำลายป่า กองทัพภาคที่ ๓ จึงได้มอบหมายให้ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ จัดกำลังสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ร้องขอโดยมีกำลังพล ๒ ชุดปฏิบัติการ (ชุดละ ๑๕ นาย ) เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๕ ระยะที่ ๒ จัดเจ้าหน้าที่คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่ดังกล่าว จำนวน ๒ ชุดปฏิบัติการ ปีงบประมาณ ๒๕๓๙ ได้มีการขยายพื้นที่โครงการ เพิ่มเติมอีก รวมทั้ง ๓ พื้นที่ เป็นจำนวนชุดปฏิบัติการ ๑๐ ชุดปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงฯ
เป้าหมาย
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาขยายขอบเขตพื้นที่โครงการให้ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวง โดยให้แบ่งพื้นที่ดำเนินการตามโครงการออกเป็น ๓ ระยะคือ
      ระยะที่ ๑ (๒๕๓๖-๒๕๓๗) พื้นที่ดำเนินการ มีขอบเขตทางด้านทิศเหนือ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นไปจดจรดขอบอ่างเก็บน้ำแม่กวง รวมเนื้อที่ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ไร่
      ระยะที่ ๒ (๒๕๓๗-๒๕๓๙) พื้นที่ดำเนินการ มีขอบเขตต่อจากระยะที่ ๑ ขึ้นไปทางด้านทิศเหนือจนจรดเขตอำเภอแม่แตง และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ ๗๐,๐๐๐ ไร่
      ระยะที่ ๓ (๒๕๓๙-๒๕๔๔) พื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่ส่วนที่เหลือในเขตลุ่มน้ำแม่กวงด้านเหนืออ่างเก็บน้ำแม่กวงทั้งหมด จำนวน ๒๔๕,๐๐๐ ไร่ มีบริเวณต่อจากขอบเขตระยะที่ ๑ และระยะที่ ๒ ไปทางด้านตะวันออกครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ,อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ระยะเวลาดำเนินงาน โครงการต่อเนื่อง
      สรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๔๖
๑. ชุดปฏิบัติการ ฉก. แม่กวง ทำการลาดตระเวนตรวจพบการตัดไม้ในพื้นที่ โครงการฯ สรุปได้ดังนี้ 
       ๑.๑ พื้นที่โครงการฯ ระยะที่ ๑ จำนวน ๓๘.๔๔ ลูกบาศก์เมตร
       ๑.๒ พื้นที่โครงการฯระยะที่ ๒ จำนวน ๓๙.๙๑ ลูกบาศก์เมตร
       ๑.๓ พื้นที่โครงการฯระยะที่ ๓ จำนวน ๗๗.๘๑ ลูกบาศก์เมตร 
       ๑.๔ นอกพื้นที่โครงการฯระยะที่ ๒ จำนวน ๙๘.๑๔ ลูกบาศก์เมตร
๒. สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ ๗ ราย นำตัวส่ง สภ.อ.ดอยสะเก็ด จำนวน ๑ ราย เพื่อดำเนินคดีต่อไป และว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยไป จำนวน ๖ ราย
๓. ตรวจยึดอุปกรณ์การแปรรูปไม้ได้ จำนวน ๕ รายการดังนี้
       ๓.๑ เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ จำนวน ๒ เครื่อง
       ๓.๒ เลื่อยตั้ง จำนวน ๔ ปื้น
       ๓.๓ ขวาน จำนวน ๔ เล่ม
       ๓.๔ มีด จำนวน ๔ เล่ม 
       ๓.๕ ชะแลง จำนวน ๔ เล่ม
ที่ตั้ง
๑. กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด MA๙๗๓๘๓๒
๒. พื้นที่โครงการ พิกัด NA ๒๔๒๘๖๓
แผนที่สังเขปเส้นทาง
โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่